
อาการไหล่ห่อ หรือ mommy posture
การห่อไหล่เป็นอาการที่ใช้อธิบายลักษณะของการพักไหล่ ซึ่งตำแหน่งของไหล่จะยื่นมาข้างหน้าจากแนวกระดูกของร่างกาย
สาเหตุและความเสี่ยง
ท่าทางเป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่ากิจวัตรของเราส่งผลกระทบต่อร่างกายภายนอกอย่างไร อาการต่างๆ เช่น อาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ และ อาการไหล่ห่อ เป็นส่งที่เห็นได้ง่ายที่สุดเมื่อท่าทางของเราไม่เป็นไปตามปกติ
กิจวัตรประจำวันที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการไหล่ห่อ
1. การใช้โทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต
2. การใช้คอมพิวเตอร์หรือแล็ปท็อป
3. การนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานานๆ
4. การขับขี่ยานพาหนะ
5. การก้มหรือโน้มตัวซ้ำๆ
6. การแบกถือของหนักตลอดทั้งวัน
ความเสี่ยงจากอาการไหล่ห่อจะรวมไปถึงผลกระทบด้านลบในเรื่องสุขภาพและภาพลักษณ์ เมื่อเราขาดความใส่ใจที่จะฝึกร่างกายให้ยืดตรงอย่างสม่ำเสมอ กล้ามเนื้อของเราจะเข้าใจว่าการไหล่ห่องอตัวของเราเป็นท่าทางปกติของร่างกาย ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างมากถ้าขาดการดูแลรักษา
การเพิ่มความตึงเครียดตรงจุดข้อต่อไหล่เป็นสาเหตุให้เกิดความเจ็บปวดบริเวณคอและหลังส่วนบน จึงเป็นการดีที่สุดที่เราจะแก้ไขอาการไหล่ห่อโดยการปรับท่าทางของเราทันที
การยืดตัวและการออกกำลังกาย
ข่าวดีคืออาการห่อไหล่โดยส่วนใหญ่สามารถแก้ไขและป้องกันได้ง่าย โดยการฝึกให้กล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆกลับมาตั้งตรงในลักษณะที่ถูกต้องอีกครั้ง เช่น กิจวัตรการออกกำลังกายอย่างง่ายๆ จะตามมาด้วยตำแหน่งไหล่และท่าทางที่ถูกต้องของหลายๆคน ซึ่งจะใช้เวลา 20 – 30 นาทีต่อวันในการออกกำลังกาย อย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์ จะสามารถช่วยในการปรับท่าทางและบรรเทาอาการปวดต่างๆที่เกิดจากอาการไหล่ห่อ
3 ท่าช่วยแก้ไขอาการไหล่ห่อ
1. ท่าย่อเข่ายืดตัว
ย่อเข่า ขาซ้ายอยู่ด้านหน้า เท้าราบไปกับพื้น ดันตัวไปด้านหน้าให้ตรงกับแนวสะโพก แล้วยืดสะโพกด้านขวา ค้างไว้ 30 วินาที จากนั้นยกแขนขวาขึ้น แล้วค่อยๆบิดตัวไปทางด้านขวา และเอนตัวไปทางด้านซ้าย ค้างไว้ 20 วินาที และทำแบบเดียวกันกับอีกด้านหนึ่ง
2. ท่ายืดอกโดยใช้กรอบประตู
ยืนตรงกรอบประตู วางมือทั้ง2ข้างตรงแต่ละด้านของกรอบประตูในระดับหน้าอก ก้าวมาข้างหน้า 1 ก้าว เพื่อยืดหน้าอก ทำค้างไว้ 30 – 60 วินาที
3. ท่าเก็บไหล่
ยืนตรง แยกขาในระดับความกว้างของสะโพก ส่วนหน้าท้องนำแนวกระดูกสันหลัง มือทั้ง 2 ข้างอยู่ข้างลำตัว และมองตรงไปข้างหน้า หายใจออกและกดไหล่ลงไปทางด้านหลัง โดยห้ามให้ส่วนหลังโค้งลง หรือ ศีรษะโน้มไปด้านหน้า ค้างไว้ 5 วินาทีแล้วปล่อย และเริ่มทำใหม่
![]() |
|
อย่างไรก็ดียังมีกรณีที่การออกกำลังกายอย่างง่ายๆไม่สามารถบำบัดฟื้นฟูให้ร่างกายกลับมาปกติได้ นั่นคืออาการหลังค่อม (Kyphosis) เป็นภาวะที่กระดูกสันหลังส่วนหน้าอก (upper back) มีความโค้งมากเกินปกติ ถ้ามีอาการหลังค่อม อาจจะเห็นโหนกปรากฎอยู่บริเวณหลัง หากมองทางด้านข้างส่วนหลังจะมีลักษณะโค้งนูนหรือยื่นออกมา อาการหลังค่อมทำให้เกิดการกดดันที่มากเกินไปในบริเวณกระดูกสันหลัง ส่งผลให้เกิดการเจ็บปวด จนนำไปสู่ภาวะการหายใจลำบาก เนื่องจากการกดดันส่งผลไปที่ปอดด้วย
สาเหตุโดยทั่วไปของอาการหลังค่อม
1. อายุ โดยเฉพาะในผู้ที่มีลักษณะท่าทางที่ผิด
2. ความอ่อนแอของกล้ามเนื้อส่วนกระดูกหน้าอก (upper back)
3. โรคชอยเออร์มานน์ (Scheuermann’s disease) เกิดในเด็กและยังไม่ทราบสาเหตุ
4. ข้ออักเสบ หรือ โรคกระดูกเสื่อมอื่นๆ
5. โรคกระดูกพรุน หรือ การสูญเสียความแข็งแรงของกระดูกอันเนื่องมาจากอายุ
6. อาการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง
7. กระดูกทับเส้นประสาท
8. กระดูกสันหลังคด หรือ อาการกระดูกสันหลังโค้งงอ
เมื่อไรที่ควรจะรักษาอาการหลังค่อม
1. เมื่อเกิดความเจ็บปวด
2. เกิดภาวะหายใจลำบาก
3. เกิดอาการเหนื่อยเพลีย
การรักษาโดยการผ่าตัด
การรักษาโดยการผ่าตัดมักจะเป็นวิธีสุดท้ายที่จะเลือกใช้ โดยตัวเลือกแรกๆจะเป็นการทำกายภาพบำบัดก่อน ถ้าความเจ็บปวดหรืออาการอื่นๆที่เกิดขึ้นไม่ลดน้อยลงหลังจากทำกายภาพบำบัดเป็นเวลาหลายเดือน หมออาจจะแนะนำวิธีการผ่าตัดในการรักษา ซึ่งจะมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเป็นการผ่าตัดรักษาอาการหลังค่อมที่ผิดปกติ ดังนี้
1. ความรุนแรงของการโค้งงอ
2. ระดับความโค้งงอที่เพิ่มขึ้น
3. ความสมดุลของร่างกาย
4. ผลกระทบต่อระบบประสาท
การผ่าตัดเพื่อรักษาอาการหลังค่อมที่ผิดปกติ มีเป้าหมาย ดังนี้
1. ลดการเสียรูปของกระดูก
2. ลดความเจ็บปวดและอาการอื่นๆที่มีต่อระบบประสาท
3. ป้องกันไม่ให้ความโค้งงอของกระดูกรุนแรงขึ้น
อ้างอิงจากเป้าหมายดังกล่าวนี้และอาการที่เกิดขึ้นของคนไข้ ศัลยแพทย์จะแนะนำวิธีที่ดีที่สุดในการผ่าตัด
กรณีที่พบบ่อยในการผ่าตัดเพื่อรักษาอาการหลังค่อม ได้แก่
1. การตัดกระดูก (Osteotomy) กระดูกจะถูกตัดในมุมที่ถูกต้อง ส่วนปลายกระดูกจะถูกปรับและได้รับการฟื้นฟู อาจจะมีการใส่เครื่องมือในกระดูกสันหลังผสมร่วมด้วย เพื่อที่จะตรึงกระดูกสันหลังในระหว่างการฟื้นฟู
2. การใส่เครื่องมือและการเชื่อมกระดูกสันหลัง (Spinal Instrumentation and Fusion) เมื่อกระดูกสันหลังถูกปรับโดยวิธีการตัดกระดูก ศัลยแพทย์จำเป็นที่จะต้องตรึงกระดูกให้มั่นคงเพื่อช่วยให้กระดูกสันหลังฟื้นฟูในตำแหน่งที่ถูกต้อง โดยศัลยแพทย์จะสร้างสภาวะที่กระดูกส่วนกระดูกสันหลังจะเชื่อมเข้าด้วยกันเมื่อเวลาผ่านไป (อาจใช้เวลาหลายเดือนหรือยาวนานกว่านั้น) โดยใช้วิธีปลูกกระดูก (Bone graft) หรือ ใช้วิธีใส่เครื่องมือที่กระดูกสันหลัง ประกอบด้วย wires, cables, screws, rods และ plates เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่กระดูกในระหว่างที่กระดูกเชื่อมกัน หลังการผ่าตัด จะไม่เห็นเครื่องมือเหล่านี้ เนื่องจากเครื่องมือมีขนาดเล็กและอยู่ภายในร่างกาย
อาการไหล่ห่อ หรือ mommy posture
การห่อไหล่เป็นอาการที่ใช้อธิบายลักษณะของการพักไหล่ ซึ่งตำแหน่งของไหล่จะยื่นมาข้างหน้าจากแนวกระดูกของร่างกาย
สาเหตุและความเสี่ยง
ท่าทางเป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่ากิจวัตรของเราส่งผลกระทบต่อร่างกายภายนอกอย่างไร อาการต่างๆ เช่น อาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ และ อาการไหล่ห่อ เป็นส่งที่เห็นได้ง่ายที่สุดเมื่อท่าทางของเราไม่เป็นไปตามปกติ
กิจวัตรประจำวันที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการไหล่ห่อ
1. การใช้โทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต
2. การใช้คอมพิวเตอร์หรือแล็ปท็อป
3. การนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานานๆ
4. การขับขี่ยานพาหนะ
5. การก้มหรือโน้มตัวซ้ำๆ
6. การแบกถือของหนักตลอดทั้งวัน
ความเสี่ยงจากอาการไหล่ห่อจะรวมไปถึงผลกระทบด้านลบในเรื่องสุขภาพและภาพลักษณ์ เมื่อเราขาดความใส่ใจที่จะฝึกร่างกายให้ยืดตรงอย่างสม่ำเสมอ กล้ามเนื้อของเราจะเข้าใจว่าการไหล่ห่องอตัวของเราเป็นท่าทางปกติของร่างกาย ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างมากถ้าขาดการดูแลรักษา
การเพิ่มความตึงเครียดตรงจุดข้อต่อไหล่เป็นสาเหตุให้เกิดความเจ็บปวดบริเวณคอและหลังส่วนบน จึงเป็นการดีที่สุดที่เราจะแก้ไขอาการไหล่ห่อโดยการปรับท่าทางของเราทันที
การยืดตัวและการออกกำลังกาย
ข่าวดีคืออาการห่อไหล่โดยส่วนใหญ่สามารถแก้ไขและป้องกันได้ง่าย โดยการฝึกให้กล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆกลับมาตั้งตรงในลักษณะที่ถูกต้องอีกครั้ง เช่น กิจวัตรการออกกำลังกายอย่างง่ายๆ จะตามมาด้วยตำแหน่งไหล่และท่าทางที่ถูกต้องของหลายๆคน ซึ่งจะใช้เวลา 20 – 30 นาทีต่อวันในการออกกำลังกาย อย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์ จะสามารถช่วยในการปรับท่าทางและบรรเทาอาการปวดต่างๆที่เกิดจากอาการไหล่ห่อ
3 ท่าช่วยแก้ไขอาการไหล่ห่อ
1. ท่าย่อเข่ายืดตัว
ย่อเข่า ขาซ้ายอยู่ด้านหน้า เท้าราบไปกับพื้น ดันตัวไปด้านหน้าให้ตรงกับแนวสะโพก แล้วยืดสะโพกด้านขวา ค้างไว้ 30 วินาที จากนั้นยกแขนขวาขึ้น แล้วค่อยๆบิดตัวไปทางด้านขวา และเอนตัวไปทางด้านซ้าย ค้างไว้ 20 วินาที และทำแบบเดียวกันกับอีกด้านหนึ่ง
2. ท่ายืดอกโดยใช้กรอบประตู
ยืนตรงกรอบประตู วางมือทั้ง2ข้างตรงแต่ละด้านของกรอบประตูในระดับหน้าอก ก้าวมาข้างหน้า 1 ก้าว เพื่อยืดหน้าอก ทำค้างไว้ 30 – 60 วินาที
3. ท่าเก็บไหล่
ยืนตรง แยกขาในระดับความกว้างของสะโพก ส่วนหน้าท้องนำแนวกระดูกสันหลัง มือทั้ง 2 ข้างอยู่ข้างลำตัว และมองตรงไปข้างหน้า หายใจออกและกดไหล่ลงไปทางด้านหลัง โดยห้ามให้ส่วนหลังโค้งลง หรือ ศีรษะโน้มไปด้านหน้า ค้างไว้ 5 วินาทีแล้วปล่อย และเริ่มทำใหม่
![]() |
|
อย่างไรก็ดียังมีกรณีที่การออกกำลังกายอย่างง่ายๆไม่สามารถบำบัดฟื้นฟูให้ร่างกายกลับมาปกติได้ นั่นคืออาการหลังค่อม (Kyphosis) เป็นภาวะที่กระดูกสันหลังส่วนหน้าอก (upper back) มีความโค้งมากเกินปกติ ถ้ามีอาการหลังค่อม อาจจะเห็นโหนกปรากฎอยู่บริเวณหลัง หากมองทางด้านข้างส่วนหลังจะมีลักษณะโค้งนูนหรือยื่นออกมา อาการหลังค่อมทำให้เกิดการกดดันที่มากเกินไปในบริเวณกระดูกสันหลัง ส่งผลให้เกิดการเจ็บปวด จนนำไปสู่ภาวะการหายใจลำบาก เนื่องจากการกดดันส่งผลไปที่ปอดด้วย
สาเหตุโดยทั่วไปของอาการหลังค่อม
1. อายุ โดยเฉพาะในผู้ที่มีลักษณะท่าทางที่ผิด
2. ความอ่อนแอของกล้ามเนื้อส่วนกระดูกหน้าอก (upper back)
3. โรคชอยเออร์มานน์ (Scheuermann’s disease) เกิดในเด็กและยังไม่ทราบสาเหตุ
4. ข้ออักเสบ หรือ โรคกระดูกเสื่อมอื่นๆ
5. โรคกระดูกพรุน หรือ การสูญเสียความแข็งแรงของกระดูกอันเนื่องมาจากอายุ
6. อาการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง
7. กระดูกทับเส้นประสาท
8. กระดูกสันหลังคด หรือ อาการกระดูกสันหลังโค้งงอ
เมื่อไรที่ควรจะรักษาอาการหลังค่อม
1. เมื่อเกิดความเจ็บปวด
2. เกิดภาวะหายใจลำบาก
3. เกิดอาการเหนื่อยเพลีย
การรักษาโดยการผ่าตัด
การรักษาโดยการผ่าตัดมักจะเป็นวิธีสุดท้ายที่จะเลือกใช้ โดยตัวเลือกแรกๆจะเป็นการทำกายภาพบำบัดก่อน ถ้าความเจ็บปวดหรืออาการอื่นๆที่เกิดขึ้นไม่ลดน้อยลงหลังจากทำกายภาพบำบัดเป็นเวลาหลายเดือน หมออาจจะแนะนำวิธีการผ่าตัดในการรักษา ซึ่งจะมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเป็นการผ่าตัดรักษาอาการหลังค่อมที่ผิดปกติ ดังนี้
1. ความรุนแรงของการโค้งงอ
2. ระดับความโค้งงอที่เพิ่มขึ้น
3. ความสมดุลของร่างกาย
4. ผลกระทบต่อระบบประสาท
การผ่าตัดเพื่อรักษาอาการหลังค่อมที่ผิดปกติ มีเป้าหมาย ดังนี้
1. ลดการเสียรูปของกระดูก
2. ลดความเจ็บปวดและอาการอื่นๆที่มีต่อระบบประสาท
3. ป้องกันไม่ให้ความโค้งงอของกระดูกรุนแรงขึ้น
อ้างอิงจากเป้าหมายดังกล่าวนี้และอาการที่เกิดขึ้นของคนไข้ ศัลยแพทย์จะแนะนำวิธีที่ดีที่สุดในการผ่าตัด
กรณีที่พบบ่อยในการผ่าตัดเพื่อรักษาอาการหลังค่อม ได้แก่
1. การตัดกระดูก (Osteotomy) กระดูกจะถูกตัดในมุมที่ถูกต้อง ส่วนปลายกระดูกจะถูกปรับและได้รับการฟื้นฟู อาจจะมีการใส่เครื่องมือในกระดูกสันหลังผสมร่วมด้วย เพื่อที่จะตรึงกระดูกสันหลังในระหว่างการฟื้นฟู
2. การใส่เครื่องมือและการเชื่อมกระดูกสันหลัง (Spinal Instrumentation and Fusion) เมื่อกระดูกสันหลังถูกปรับโดยวิธีการตัดกระดูก ศัลยแพทย์จำเป็นที่จะต้องตรึงกระดูกให้มั่นคงเพื่อช่วยให้กระดูกสันหลังฟื้นฟูในตำแหน่งที่ถูกต้อง โดยศัลยแพทย์จะสร้างสภาวะที่กระดูกส่วนกระดูกสันหลังจะเชื่อมเข้าด้วยกันเมื่อเวลาผ่านไป (อาจใช้เวลาหลายเดือนหรือยาวนานกว่านั้น) โดยใช้วิธีปลูกกระดูก (Bone graft) หรือ ใช้วิธีใส่เครื่องมือที่กระดูกสันหลัง ประกอบด้วย wires, cables, screws, rods และ plates เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่กระดูกในระหว่างที่กระดูกเชื่อมกัน หลังการผ่าตัด จะไม่เห็นเครื่องมือเหล่านี้ เนื่องจากเครื่องมือมีขนาดเล็กและอยู่ภายในร่างกาย